สุขภาพการเงินของลูกจ้าง เป็นเรื่องที่นายจ้างต้องใส่ใจ เพราะส่งผลต่อสภาพจิตใจ ความเครียด ความกังวล กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง.. การจ่ายค่าจ้างอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยได้แต่ไม่ใช่ทั้งหมด มีคำที่กล่าวไว้ว่า “หาเงินได้เท่าไร..ไม่สำคัญเท่าเหลือเก็บเท่าไร” และ นายจ้าง หรือ องค์กร สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานของตนมีเงินเหลือเก็บ ห่างไกลจากปัญหาหนี้สินได้ หากเติม ความรู้ เรื่องเงิน 6 ข้อ ตามที่ฮูกจะยกมาเล่าให้ฟังกันในบทความนี้ครับ
การบริหารเงินเดือน
องค์กรอาจไม่เคยรู้ว่าพนักงานของตัวเองนั้นมีอาการ “สิ้นเดือน เหมือนสิ้นใจ” แบบจริงจัง ไม่ได้พูดเล่นๆ เพราะขาดการบริหารเงินเดือนที่ดี การช่วยแนะนำให้พนักงานรู้จำนวนรายจ่ายที่แน่นอนในแต่ละเดือน เพื่อให้สามารถวางแผนใช้เงินตามอัตราส่วนที่เหมาะสมของตัวเองได้ หรือแยกบัญชีให้เป็นสัดส่วน ไม่ใช้ปะปนกัน รวมถึงการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้หนักงานไม่ต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน และเกิดความเครียดตามมา
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เป็นสวัสดิการที่หลายๆ บริษัทมีให้ แต่พนักงานไม่ค่อยรู้ถึงประโยชน์ และวิธีการเลือกนโยบายการลงทุน หรือ เลือกจำนวนเปอร์เซ็นต์เงินสมทบที่เหมาะสมกับตัวเอง จึงไม่สนใจสมัครกองทุน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะนอกจากจะทำให้ลูกจ้างมีเงินออมอย่างต่อเนื่อง โดยมีนายจ้างช่วยออมแล้ว ทางกองทุนยังมีการนำเงินไปลงทุนให้เกิดดอกผลงอกเงย โดยดอกผลที่เกิดขึ้นจะนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกกองทุนทุกคนตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุน การให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องนี้ก็จะเป็นอีกช่องทางที่ทำให้พนักงานตัดสินใจสมัครเข้ากองทุน และที่สำคัญจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างนานๆ ด้วย
ประกันกลุ่ม
ประกันที่จ่ายให้กับพนักงานในทุกๆ ปี ถือเป็นรายจ่ายจำนวนไม่น้อยเลย แต่พนักงานหลายคนไม่รู้สิทธิ์ของตนเอง บางคนจึงไปซื้อยากินเองไม่เบิกเคลม บางคนก็อดทนกับอาการป่วยเพราะไม่อยากไปหาหมอที่โรงพยาบาลกลัวต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จนสุดท้ายก็ส่งผลกระทบกับงาน หนักสุดก็ไปขอหยิบยืมเงินจากคนอื่นมารักษาทั้งที่วงเงินประกันอาจครอบคลุมอยู่แล้ว หากองค์กรมีการแจกแจง หรือเพิ่มความรู้ด้านการอ่านข้อมูลกรมธรรม์ประกันก็จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างตรงจุดครับ
ภาษี
ภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ค่อนข้างเข้าใจยาก หากองค์กรไม่ได้ยื่นให้ และพนักงานก็ไม่รู้ว่าตนเองจำเป็นต้องยื่น มาโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังมีอ่วมแน่นอนครับ นอกจากการยื่นภาษีที่ถูกต้องแล้ว หากพนักงานรู้วิธีคำนวณภาษีประจำปี และสามารถวางแผนลดหย่อนภาษีเป็น ก็จะช่วยให้ประหยัดรายจ่าย และนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติมได้ ห่างไกลการเป็นหนี้แน่นอน
การจัดการหนี้
รู้มั้ย? หนี้สินมากมาย กลายเป็นสาเหตุให้ พนักงานลาออก ได้เหมือนกันนะ ปัญหาเรื่องหนี้ที่เหมือนจะเป็นเรื่องส่วนตัว สุดท้ายอาจกลายเป็นปัญหาขององค์กรได้ หากรู้ว่าพนักงานเริ่มมีปัญหาแบบนี้ ยิ่งต้องรีบให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการหนี้ 4 หัวข้อหลัก เช่น รู้จักประเภทของหนี้ หนี้จน – หนี้รวย, รู้จักวิธีเช็กสุขภาพทางการเงิน สภาพหนี้ในมือ, รู้แนวทางการแก้หนี้ และรู้แนวทางหารายได้เสริม หากเลือกได้ก็คงไม่มีใครที่อยากเป็นหนี้ แต่หากพนักงานมีเหตุจำเป็นต้องสร้างหนี้ เขาก็จะได้มีวิธีรับมือ บริหารจัดการหนี้ได้ ไม่ให้หนี้สินมากระทบชีวิตในส่วนอื่นๆ ครับ
วางแผนเกษียณ
แม้ชีวิตหลังเกษียณอายุของพนักงาน ดูจะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับองค์กรแล้ว แต่เกี่ยวแน่นอนในแง่สังคมและประเทศ โดยมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2563 ประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปหรืออยู่ในวัยเกษียณ จะเพิ่มจำนวนเป็น 10 ล้านคน คงจะเป็นเรื่องดีมาก หากทุกคนมีเงินไว้ใช้จ่าย ไม่เดือดร้อน ไม่ต้องรอพึ่งพาลูกหลาน ให้หนุ่ม-สาววัยทำงาน มีพลังที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
มอบ ความรู้ เรื่องเงิน ให้กับพนักงานได้ใน คอร์สเรียน Fin@work ที่จะนำเรื่องเงินมาเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ครบทั้ง 6 หัวข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสวัสดิการการเงินขององค์กร โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้การเงิน เพื่อให้พนักงานมีสุขภาพการเงินที่ดี มีความสุขตลอดชีวิตการทำงาน

Written by
Pattharaporn Suthanithee (Nam) Content Creator สายเขียน
ที่เขียนมาแล้วหลากหลายวงการ ทั้งการศึกษา, อสังหาฯ, IT ฯลฯ มีเป้าหมายจะเป็นโสดและเลี้ยงแมวไปจนแก่ จึงต้องเริ่มหันมาทำความเข้าใจการบริหารเงินเพื่อให้เกษียณอายุอย่างมีความสุข
เรามุ่งมั่นพัฒนาบริการ เพื่อยกระดับสุขภาพการเงิน ทั้งในระดับโรงเรียน และองค์กร ผ่านโปรแกรมหลักสูตรที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับบริบทของคนไทยโดยเฉพาะ