หาทางออกให้พนักงานอย่างยั่งยืน
ด้วยที่ปรึกษาการเงินเฉพาะทาง

หาทางออกให้พนักงาน
อย่างยั่งยืน ด้วยที่ปรึกษา
การเงินเฉพาะทาง

บริการ

Employee Counseling

รักษาพนักงานเฉพาะจุด กับที่ปรึกษาการเงินเฉพาะทาง ด้วยบริการให้คำปรึกษาและวางแผนการเงินแบบตัวต่อตัว ในรูปแบบออนไลน์

ทำไมต้องช่วยพนักงานแก้ไขปัญหาการเงิน ?

เนื่องจากคนส่วนใหญ่ในวัยทำงานมักจะมีปัญหาเรื่องเงินติดตัว ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยตัวเองได้ จนส่งผลกระทบกับ performance ในการทำงาน จากผลสำรวจของ APA และ PWC พบว่ากว่า 72% ของคนวัยทำงานมีความเครียดจากปัญหาเรื่องเงิน และใช้เวลามากถึง 3 ชม. ในเวลางานเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

ดังนั้นการที่องค์กรมีสวัสดิการช่วยเหลือ เพื่อหาทางออกให้กับพนักงานจึงเป็นสิ่งที่พนักงานต้องการ และมีแนวโน้มที่จะทำให้พนักงานรักองค์กรมากยิ่งขึ้น

6

องค์กรที่ใช้บริการให้คำปรึกษาการเงินพนักงานกับเรา

80%

ของพนักงานที่รับคำปรึกษาบอกว่าช่วยแก้ปัญหาได้จริง

133

พนักงานที่ได้รับคำปรึกษาเรื่องการเงินกับเรา

83%

ของพนักงานพึงพอใจกับบริการที่องค์กรมอบให้
องค์กรที่ไว้วางใจเรา

บริการให้คำปรึกษาการเงินสำหรับพนักงานในองค์กร

Employee Counseling Service

บริการให้คำปรึกษาการเงินกับพนักงาน โดยที่ปรึกษาการเงินที่มากด้วยประสบการณ์ ผ่านทางออนไลน์แบบเห็นหน้า และเป็นการปรึกษาแบบตัวต่อตัว โดยพนักงาน หรือองค์กร สามารถเลือกหัวข้อการเงินที่อยากปรึกษาได้ตามความต้องการ

วัตถุประสงค์

เพื่อให้พนักงานสามารถหาทางออกเรื่องเงินที่ตนเองกำลังติดปัญหาอยู่ได้ และคลายความกังวลจากปัญหาเหล่านั้น โดยจะมีการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการเข้ารับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงผลลัพธ์ที่พนักงานคาดหวังก่อนเริ่มพูดคุย เพื่อให้สามารถประเมินจำนวนรอบของการให้คำปรึกษาได้

รูปแบบการให้บริการ

การให้คำปรึกษาการเงินแบบออนไลน์

(Video call counseling via ZOOM)

  • เลือกหัวข้อการเงินที่อยากปรึกษาได้ตามความต้องการ
  • เลือกวัน เวลา ในการพูดคุยรับคำปรึกษาได้เอง
  • Matching Coach มีทีมงานช่วยเลือกที่ปรึกษาการเงินที่ตรงกับหัวข้อให้
  • ทีมงานทำนัดผ่าน Google Calendar และมีแจ้งเตือนผ่านอีเมล
  • พบที่ปรึกษาการเงินแบบออนไลน์ ผ่าน ZOOM
  • มีสมุดพกการเงินให้สำหรับพนักงาน หลังสิ้นสุดการให้คำปรึกษา เพื่อให้พนักงานสามารถนำคำแนะนำ และแผนที่วางไว้ไปทำต่อได้
  • มีรายงานสรุปผลลัพธ์ภาพรวมของพนักงานทั้งหมดให้กับองค์กร หลังให้คำปรึกษากับพนักงานครบตามจำนวนที่กำหนด
  • พนักงาน 1 คน แนะนำให้พบที่ปรึกษาการเงินอย่างน้อย 3 ครั้ง (3 credits) เพื่อประสิทธิภาพในการดูแล และติดตามผลให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด
  • 1 credit = การรับคำปรึกษา 1 ครั้ง เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
  • เริ่มต้น Package 30 credits ในระยะเวลา 1 ปี

ช่วยให้การปรึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการดูแลซัพพอร์ตที่หลากหลาย

Health Checkup

ประเมินระดับสุขภาพการเงินของตนเอง เพื่อช่วยพนักงานเลือกหัวข้อในการรับคำปรึกษาได้ตรงมากยิ่งขึ้น

Excel Learning

เรียนรู้การทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย และงบแสดงสถานะการเงิน ผ่านคอร์สออนไลน์ เพื่อใช้ประกอบการพูดคุยกับที่ปรึกษาการเงิน

E-Pocket Book

สมุดพกการเงินสำหรับพนักงาน บันทึกเป้าหมายและผลลัพธ์จากการให้คำปรึกษา รวมถึงแผนที่พนักงานได้วางไว้กับที่ปรึกษาการเงิน
เราให้คำปรึกษาเรื่องอะไรบ้าง

ตัวอย่างหัวข้อที่คุณเลือกปรึกษาได้

Financial Coach

ตัวอย่างที่ปรึกษาการเงินของเรา

ตัวอย่างองค์กรที่ใช้บริการ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

HR อยากให้พนักงานมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับทักษะด้านการเงิน พร้อมที่จะวางแผนบริหารการเงินของตัวเอง…
Money Health Check
Talk
Online Course
Workshop

ไทยสมุทรประกันชีวิต

ช่วงเดือนมีนาคม เป็นเดือนที่พนักงานจะได้รับโบนัส ทางองค์กรเลยต้องการอยากให้ความรู้การเงิน…
Money Health Check
Talk

โพลีคลีน (Poly kleen)

พนักงานมีปัญหาในเรื่องของการบริหารการเงิน เช่น รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย ซึ่งส่งผลกระทบในการทำงานได้…
Talk
Online Course

วิริยะประกันภัย

อยากส่งเสริมให้พนักงาน มีความรู้เรื่องการบริหารการเงิน เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต…
Talk

ตัวอย่างโครงการอื่นๆ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

HR อยากให้พนักงานมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับทักษะด้านการเงิน พร้อมที่จะวางแผนบริหารการเงินของตัวเอง…
Money Health Check
Talk
Online Course
Workshop

ไทยสมุทรประกันชีวิต

ช่วงเดือนมีนาคม เป็นเดือนที่พนักงานจะได้รับโบนัส ทางองค์กรเลยต้องการอยากให้ความรู้การเงิน…
Money Health Check
Talk

โพลีคลีน (Poly kleen)

พนักงานมีปัญหาในเรื่องของการบริหารการเงิน เช่น รายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย ซึ่งส่งผลกระทบในการทำงานได้…
Talk
Online Course

วิริยะประกันภัย

อยากส่งเสริมให้พนักงาน มีความรู้เรื่องการบริหารการเงิน เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต…
Talk

หาทางออกให้พนักงานอย่างยั่งยืน ให้องค์กรของคุณ!

ติดต่อเรา

คำถามที่พบบ่อย

เราจะสามารถคัดกรองหรือรับสมัครพนักงาน เพื่อมาเข้าร่วมการให้คำปรึกษาได้อย่างไร
ทำได้ 2 วิธี
  1. องค์กรคัดพนักงานที่มีปัญหาการเงิน แล้วส่ง Contact ให้ Money Class เพื่อติดต่อประสานงาน และทำนัดเข้าพบที่ปรึกษาการเงิน
  2. Money Class ทำแบบฟอร์มรับสมัครให้ โดยใช้เกณฑ์สำคัญ 2 ข้อคือ เป้าหมายในการพบที่ปรึกษา กับ ผลตรวจสุขภาพทางการเงิน ซึ่งจะเปิดรับสมัครด้วยแบบฟอร์มของ Money Clas โดยมีทีมงานคอย Monitor และสรุปผลให้ทันที
วิธีการเข้ารับคำปรึกษาต้องทำอย่างไร ใช้แพลตฟอร์มอะไร
วิธีการเข้ารับคำปรึกษา
  1. ผู้เข้ารับคำปรึกษาการเงิน จะได้รับ Email จาก team@moneyclass.co เพื่อที่จะ
    1.1 เรียนรู้การทำงบการเงินผ่าน Excel Sheet ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลหนี้สิน, งบกระแสเงินสด, งบดุล, เป้าหมาย เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาพูดคุยกับที่ปรึกษาการเงินในครั้งแรก
    1.2 กรอกแบบฟอร์ม เพื่อทำการลงวันที่ที่สะดวกในการพบที่ปรึกษาครั้งที่ 1 ผ่าน Google Form ที่ทางทีมงานส่งให้
  2. รอรับคำเชิญจากทีมงาน ผ่านทาง Google Calendar และ Email ตามวันเวลาที่ได้เลือกไว้ สำหรับทำนัดหมายกับที่ปรึกษาการเงินครั้งที่ 1
  3. กดรับนัดหมาย (กดเข้าร่วมหรือ YES) เพื่อยืนยันการเข้าพบที่ปรึกษาการเงิน ครั้งที่ 1
  4. เข้าพบที่ปรึกษาการเงิน ตามนัดหมาย และ ทำการพูดคุยผ่าน ZOOM ตลอดทั้ง 3 ครั้ง
  5. ทำการนัดหมาย ครั้งที่ 2 โดยการแจ้งรายละเอียดผ่านที่ปรึกษาที่ดูแลเคส
  6. เข้ารับการให้คำปรึกษากับที่ปรึกษา โดยทำการบ้านตามที่มอบหมายให้ในครั้งที่ 1 และแผนการเงิน ก่อนมาพบที่ปรึกษาทุกครั้ง
  7. หลังพบที่ปรึกษาการเงินครั้งสุดท้าย (ครั้งที่ 3) ให้ทำการ “ประเมิน” โครงการ และที่ปรึกษาที่ดูแลเคส
ผลลัพธ์หลังจากการเข้ารับคำปรึกษาคืออะไร ตัวชี้วัดมีอะไรบ้าง
เชิงปริมาณ (Quantity)
  • Response Rate : จำนวนพนักงานหรือผู้รับคำปรึกษา ที่ได้เข้าพบที่ปรึกษาจริงตลอดโครงการ
  • Completion Rate : อัตราการเข้าพบที่ปรึกษา 1 ครั้ง, 2 ครั้ง, 3 ครั้ง (100%)
  • Engagement Rate : อัตราการทำการบ้านหลังพบที่ปรึกษา
เชิงคุณภาพ (Quality)
  • ผู้ที่ได้รับคำปรึกษาตลอดโครงการ เกิน 80% มีสุขภาพการเงินที่ดีขึ้น ดูจากผลตรวจสุขภาพก่อนและหลัง
  • ผู้ที่ได้รับคำปรึกษาตลอดโครงการ เกิน 80% เข้าพบที่ปรึกษาครบ 3 ครั้ง
  • คะแนนความพึงพอใจของพนักงาน ที่มีต่อภาพรวมโครงการ เกิน 8 คะแนน
  • คะแนนความประทับใจของพนักงาน ที่มีต่อองค์กร เกิน 8 คะแนน
  • คะแนนความพึงพอใจของที่ปรึกษาทางการเงิน ที่มีต่อโครงการ เกิน 8 คะแนน
ระยะเวลาในการพบที่ปรึกษา ทำไมต้องเป็น 3 ครั้ง และทำไมต้องครั้งละ 1 ชั่วโมง
เหตุผลที่ต้องพบที่ปรึกษาการเงินถึง 3 ครั้ง ทำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลและติดตามผล รวมถึงเพิ่มโอกาสสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายทางการเงินตามที่พนักงานผู้รับคำปรึกษาวางไว้ โดย
  • ครั้งที่ 1: เป็นการพบปะพูดคุย และทำความรู้จักกันมากขึ้นระหว่างพนักงานและที่ปรึกษาผู้ดูแลเคส เพื่อให้ที่ปรึกษาสามารถวิเคราะห์ทั้งจากตารางงบการเงิน และบุคลิกลักษณะของผู้เข้ารับคำปรึกษา พร้อมกับการแจกการบ้านครั้งที่ 1
  • ครั้งที่ 2: ที่ปรึกษาการเงินจะดูผลลัพธ์ และความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา รวมถึงการบ้านที่ให้โจทย์ไปทำ พร้อมบอกเหตุผลและวิธีการที่ทำให้ผู้รับคำปรึกษาไปถึงเป้าหมายที่วางไว้
  • ครั้งที่ 3: ตรวจสอบผลครั้งก่อน พร้อมสรุป Solution และ Behavior ผ่านสมุดพกทางการเงิน
หมายเหตุ: หากพนักงานมีการทำงบการเงินอยู่แล้ว ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จะเป็นการรับคำปรึกษาตามแผนแต่ละท่าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

คุณพร 0891446642 หรือ Email: team@moneyclass.co

ออกแบบหลักสูตรที่เหมาะกับองค์กรของคุณ ปรึกษาฟรี!









    อยากให้มันนี่คลาสช่วยอะไร? เช่น พัฒนาหลักสูตรการเงินที่เหมาะสำหรับองค์กรของคุณ หรือปัญหาการเงินของพนักงานในองค์กรที่อยากแก้ไข ทางทีมงานจะติดต่อกลับไปให้เร็วที่สุด

    --

    ข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดที่ให้ไว้กับ Money Class (“เรา”) ในแบบฟอร์มนี้จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการติดต่อท่านเพื่อแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร และประมวลผลตามคำขอของท่านเท่านั้น นอกจากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ท่านยินยอมให้เราประมวลผลข้อมูลของท่าน เพื่อให้ตัวแทนของ Money Class สามารถติดต่อติดต่อท่าน เพื่อแนะนำบริการอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับท่าน หรือองค์กรของท่านผ่านช่องทางโทรศัพท์หรืออีเมลที่ท่านให้ไว้ หรือไม่*

     

    ยินยอมไม่ยินยอม

    --

    คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคล เรามีความมุ่งมั่นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลที่เราได้รับ โดยเราจะลบข้อมูลของท่านภายใน 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่สิ้นสุดความสัมพันธ์ หรือการให้บริการแก่ท่านเสร็จสิ้นลง หรือในกรณีที่เราได้ขอความยินยอมจากท่านเราจะลบข้อมูลเมื่อท่านแจ้งขอยกเลิกความยินยอม ทั้งนี้ ท่านสามารถขอเข้าถึงข้อมูล ขอสำเนาข้อมูล ขอรับข้อมูลโดยวิธีอัตโนมัติ ขอให้โอนข้อมูล ขอให้ลบ ทำลายหรือระงับใช้ข้อมูล ได้โดยการกรอกแบบฟอร์มคำขอใช้สิทธิ และท่านสามารถศึกษามาตรการการรักษาความปลอดภัย สิทธิของท่าน และรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้ที่ ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) สำหรับบุคคลทั่วไป โดยหากท่านไม่ประสงค์ให้เราเก็บรวบรวม ใช้ และแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามวัตถุประสงค์ข้างต้น ท่านสามารถถอนความยินยอมโดยแจ้งความประสงค์ของท่านได้ตลอดเวลา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านช่องทางกรอกแบบฟอร์มคำขอถอนความยินยอม

     

    หากท่านเชื่อว่า Money Clas ไม่ได้ปฏิบัติตามคำชี้แจงนี้ กรุณาติดต่อกลับมาโดยส่งอีเมลมาที่ team@moneyclass.co หรือส่งจดหมายมายัง Money Class ที่อยู่ 444 ชั้น 20 อาคารเอ็ม บี เค ทาวเวอร์ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 และหากท่านมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดหรือร้องเรียนได้ที่ DPO@Learn.co.th

     

    บริการอื่นๆ ของเรา

    MONEY HEALTH CHECK

    บริการตรวจสุขภาพการเงินให้พนักงานแบบยกองค์กร มาพร้อม Data Dashboard สำหรับติดตามผล และ Report วิเคราะห์ภาพรวม

    MONEY TALK

    ไม่ใช่แค่การบรรยาย แต่เราตั้งต้นออกแบบเนื้อหา และกิจกรรมตามเป้าหมายขององค์กร ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อพัฒนาความรู้การเงินให้ตอบโจทย์การทำงาน และบริบทขององค์กร

    MONEY ONLINE COURSE

    เรียนรู้ทุกทักษะการเงินสำคัญที่คนวัยทำงานต้องรู้ ผ่านแพลตฟอร์มและคอร์สออนไลน์ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดแก่ผู้เรียน

    MONEY WORKSHOP

    ย่อยเรื่องเงินให้เป็นเรื่องง่าย ด้วยการลงมือทำจริง ผ่านกิจกรรมเวิร์คชอปที่มาพร้อมความสนุก และใกล้ชิดกับผู้สอน