เมื่อความเชื่อเรื่องเงินแบบเดิมๆ ถูกส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น จนเกิดเป็น Domino Effect

เมื่อความเชื่อเรื่องเงินแบบเดิม-ถูกส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น - Money Class

“เรียนสูง ๆ จบมาจะได้มีงานดี ๆ ทำ”

“เรื่องหาเงินเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ เป็นเด็กแค่ตั้งใจเรียนก็พอ”

ความเชื่อเรื่องเงิน แบบเดิมๆ

เป็นคำสอนที่ผมเคยได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ ด้วยความที่สังคมไทย ส่งต่อแนวคิดนี้มาโดยตลอด บอกตามตรงเมื่อก่อนผมก็เชื่อแบบนั้น และก็ไม่เคยคิดสงสัย หรือตั้งคำถามเลยว่า “คำสอนเหล่านี้ถูกต้องจริงๆ หรือไม่”

จนได้เจอข่าวเมื่อต้นปี 64 ที่ว่า “โควิด” ระบาดรอบใหม่​ ส่อทำหนี้ครัวเรือน​ปี 64 พุ่งเกิน​ 91% ของจีดี​พี (ข้อมูลอ้างอิง: https://www.prachachat.net/finance/news-585969) ทำให้ผมคิดอะไรขึ้นมาได้บางอย่างว่า.. ถ้าจะเปรียบเทียบชีวิตเราเป็นเกม ก็คงเหมือนกับเกมที่ทุกคนรู้จักกันดีนั่นคือ เกมเรียงโดมิโน่  

เพราะการล้มลงของโดมิโน่ เปรียบเสมือนคำสอนจากรุ่นสู่รุ่นที่บิดเบี้ยว และถูกส่งต่อกันมาเรื่อยๆ จนกระทั่งโดมิโน่ตัวสุดท้าย “ล้มลง” นั่นคือ หนี้ครัวเรือน! ที่สูงสุดในรอบ 18 ปี

สาเหตุที่หนี้ครัวเรือนของไทยเป็นปัญหา

เมื่อเราวิเคราะห์เข้าไปถึงสาเหตุของหนี้ครัวเรือนของไทย จะพบว่าหนี้ส่วนใหญ่ของเราเป็นหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลมากถึง 35% ถ้าเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วอย่างสิงคโปร์และอังกฤษ จะพบว่ามีสัดส่วนหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพียงแค่ 3% และ 4% เท่านั้น

เมื่อความเชื่อเรื่องเงินแบบเดิม ถูกส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น - Money Class

ที่มาข้อมูล : TMB Analytics

สาเหตุเป็นเพราะทั้งสองประเทศเน้นสร้างหนี้ดี ที่ก่อให้เกิดทรัพย์สินนั่นเอง อย่างเช่นหนี้บ้าน แต่ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือหนี้บริโภคอยู่ แสดงให้เห็นถึงการขาดความรู้การเงินที่ถูกต้อง ซึ่งเห็นชัดเลยว่าส่งผลกระทบร้ายแรงขนาดไหน

และที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือ โดมิโน่ของเกมนี้ไม่ได้วางเป็นเส้นตรงเพียงอย่างเดียว แต่เป็นโดมิโน่ปลายเปิด ที่มีจุดเชื่อมต่อร่วมกับโดมิโน่แถวอื่นอีกด้วย หมายความว่าเมื่อโดมิโน่แถวหนึ่งล้ม ก็จะพาโดมิโน่แถวอื่นๆ ล้มตามกันไปหมด ส่งผลทำให้ปัญหาการเงินกระจายออกไปเป็นวงกว้าง

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น

  • พี่ที่เอาบ้านน้องไปค้ำประกันซื้อรถยนต์ สุดท้ายจ่ายหนี้ไม่ไหวต้องขายบ้านเข้าตลาด
  • คุณหมอที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ลงทุนอยู่เป็นแชร์ลูกโซ่ เลยไปชวนพยาบาลมาลงทุนทั้งวอร์ด
  • ข้าราชการที่ช่วยค้ำประกันหนี้สหกรณ์ให้กันและกัน คนนึงล้มที่เหลือก็ล้มตามกันหมด
  • พ่อแม่ที่ไม่วางแผนลงทุนเพื่อเกษียณ เลยต้องพึ่งเงินลูกในยามชรา และอื่นๆ อีกมากมายในสังคมไทย
เมื่อความเชื่อเรื่องเงินแบบเดิม ถูกส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น - Money Class

ภาพจาก Domino Rally 25 | Hevesh5

บทสรุปของเกมนี้ ถ้าจะถามหา “คนผิด” ผมมองว่าคงเป็นทุกคน ทุกรุ่นที่ปลูกฝังกันมาไม่ว่าจะเป็น 

  • พ่อแม่ สอนลูก 
  • ครูสอนนักเรียน
  • เพื่อนสอนเพื่อน
  • หัวหน้าสอนลูกน้อง
  • สังคมสอนเรา

มุมกลับ ทำไมเราเอาแต่โทษคนอื่น และไม่ลองมองย้อนกลับมาดูตัวเอง ว่าได้ทำอะไรเพื่อทำให้เรื่องนี้ดีขึ้นหรือยัง

  • ไม่ได้ระวังการใช้จ่าย » ใช้จ่ายระมัดระวังมากขึ้น
  • ไม่มีภูมิคุ้มกันด้านการเงิน » ปรับตัว เรียนรู้ พัฒนาความรู้การเงินเสมอ
  • ไม่มีใครเตือนใคร » ส่งต่อความรู้การเงินที่ถูกต้อง และช่วยกันเผยแพร่เรื่องนี้

คำถามคือ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะ “หยุด” ความเชื่อเรื่องเงิน และการล้มลงของโดมิโน่เหล่านี้…

โดมิโน่ตัวแรก ที่ถูกต้อง หน้าตาเป็นอย่างไร?

ไม่ใช่แค่มีความรู้การเงินและความเชื่อเรื่องเงินที่ถูกต้อง แต่ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบทางการเงิน และวินัยทางการเงินด้วย ถ้าจะเริ่มต้นเกมนี้ใหม่ ให้ชนะและรวดเร็ว เราคงต้องเล่นพร้อมกัน “ทุกวัย” ให้เป็นหน้าที่ที่ “ทุกคน” ต้องช่วยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาการเงินนั้นมีอยู่ทุกช่วงวัย และนี่จะเป็นการวาง Domino ตัวใหม่ ตัวแรก ที่แข็งแรงยิ่งกว่าเดิม

ช่วงวัย

ตัวอย่างปัญหาที่เจอ

ตัวอย่างสิ่งที่ควรทำ

วัยเด็ก

  • ใช้เงินไม่ถูกต้อง ไม่เข้าใจคุณค่าของสินค้า
  • นับเงินทอนผิด
  • ขอเงินค่าขนมพ่อแม่เพิ่ม
  • สอนให้รู้จักมูลค่าและคุณค่าของเงิน ใบนี้ 20 ใบนี้ 1000
  • พ่อแม่ฝึกให้ไปซื้อของ โดยกำหนดเป้าค่าใช้จ่าย
  • บริหารจัดการค่าขนมเองได้ให้พอใช้ภายใน 1 อาทิตย์

วัยเรียน

  • ติดเพื่อน ติดเกม ใช้เงินในทางไม่จำเป็น
  • ซื้อของฟุ่มเฟือย  ตามกระแส #ของมันต้องมี
  • เพื่อนชักชวนเล่นพนันฟุตบอล
  • เข้าใจผลของตัวเลือกในการใช้เงิน (แยก NEED & WANT)
  • ตั้งงบประมาณ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
  • ตั้งเป้าหมายหมายทั้งการเรียนและการเงิน
  • หารายได้พิเศษ ระหว่างเรียน
  • เริ่มศึกษาเรื่องการออมในเครื่องมือทางการเงิน เรื่องลงทุน ลงทุนในสินทรัพย์

วัยเริ่มทำงาน

  • ค่าใช้จ่ายการเข้าสังคม (ภาษีสังคม)
  • ก่อหนี้บริโภคต่างๆจนเกินตัว 
  • ไม่มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
  • ไม่เก็บออมเพื่อเกษียณ
  • ตั้งงบประมาณ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
  • หักเก็บ 5% เพื่อเอาไว้ซื้อของที่อยากได้
  • เก็บเงินสำรองฉุกเฉินให้ได้ 3-6 เดือน
  • ศึกษาและเริ่มลงทุนเพื่อแผนเกษียณอายุ

วัยสร้างครอบครัว / สร้างตัว

  • ไม่วางแผนซื้อประกันชีวิต สุขภาพ
  • แต่งงาน โดยไม่วางแผน
  • ไม่วางแผนเรื่องการศึกษาบุตร
  • ไม่นำเงินไปลงทุน
  • วางแผนทำประกันเพื่อคุ้มครองตัวเองและคนข้างหลัง
  • ลงทุนเพื่อการศึกษาบุตร
  • ซื้อประกันออมทรัพย์ ประกันสุขภาพให้บุตร
  • หาช่องทางลงทุนอื่นๆเช่น ทำธุรกิจ ลงทุนกองทุนรวม

วัยเกษียณ

  • เงินไม่พอเกษียณ
  • ไม่มีประกันสุขภาพ
  • เติมเต็มความสุข ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง และ ครอบครัว
  • มีเหลือพอ  เป็นมรดกเตรียมพร้อมให้คนข้างหลัง

วัยเด็ก

ตัวอย่าง
ปัญหาที่เจอ

ตัวอย่าง
สิ่งที่ควรทำ

  • ใช้เงินไม่ถูกต้อง ไม่เข้าใจคุณค่าของสินค้า
  • นับเงินทอนผิด
  • ขอเงินค่าขนมพ่อแม่เพิ่ม
  • สอนให้รู้จักมูลค่าและคุณค่าของเงิน ใบนี้ 20 ใบนี้ 1000
  • พ่อแม่ฝึกให้ไปซื้อของ โดยกำหนดเป้าค่าใช้จ่าย
  • บริหารจัดการค่าขนมเองได้ให้พอใช้ภายใน 1 อาทิตย์

วัยเรียน

ตัวอย่าง
ปัญหาที่เจอ

ตัวอย่าง
สิ่งที่ควรทำ

  • ติดเพื่อน ติดเกม ใช้เงินในทางไม่จำเป็น
  • ซื้อของฟุ่มเฟือย  ตามกระแส #ของมันต้องมี
  • เพื่อนชักชวนเล่นพนันฟุตบอล
  • เข้าใจผลของตัวเลือกในการใช้เงิน (แยก NEED & WANT)
  • ตั้งงบประมาณ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
  • ตั้งเป้าหมายหมายทั้งการเรียนและการเงิน
  • หารายได้พิเศษ ระหว่างเรียน
  • เริ่มศึกษาเรื่องการออมในเครื่องมือทางการเงิน เรื่องลงทุน ลงทุนในสินทรัพย์

วัยเริ่มทำงาน

ตัวอย่าง
ปัญหาที่เจอ

ตัวอย่าง
สิ่งที่ควรทำ

  • ค่าใช้จ่ายการเข้าสังคม (ภาษีสังคม)
  • ก่อหนี้บริโภคต่างๆจนเกินตัว 
  • ไม่มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
  • ไม่เก็บออมเพื่อเกษียณ
  • ตั้งงบประมาณ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
  • หักเก็บ 5% เพื่อเอาไว้ซื้อของที่อยากได้
  • เก็บเงินสำรองฉุกเฉินให้ได้ 3-6 เดือน
  • ศึกษาและเริ่มลงทุนเพื่อแผนเกษียณอายุ

วัยสร้างครอบครัว / สร้างตัว

ตัวอย่าง
ปัญหาที่เจอ

ตัวอย่าง
สิ่งที่ควรทำ

  • ไม่วางแผนซื้อประกันชีวิต สุขภาพ
  • แต่งงาน โดยไม่วางแผน
  • ไม่วางแผนเรื่องการศึกษาบุตร
  • ไม่นำเงินไปลงทุน
  • วางแผนทำประกันเพื่อคุ้มครองตัวเองและคนข้างหลัง
  • ลงทุนเพื่อการศึกษาบุตร
  • ซื้อประกันออมทรัพย์ ประกันสุขภาพให้บุตร
  • หาช่องทางลงทุนอื่นๆเช่น ทำธุรกิจ ลงทุนกองทุนรวม

วัยเกษียณ

ตัวอย่าง
ปัญหาที่เจอ

ตัวอย่าง
สิ่งที่ควรทำ

  • เงินไม่พอเกษียณ
  • ไม่มีประกันสุขภาพ
  • เติมเต็มความสุข ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง และ ครอบครัว
  • มีเหลือพอ  เป็นมรดกเตรียมพร้อมให้คนข้างหลัง

สิ่งที่อยากให้คนไทยตระหนักมากขึ้น

สุดท้ายจากเรื่องของโดมิโน่ ผมอยากให้ทุกคนตระหนักได้ถึง 2 เรื่องด้วยกัน

1. เรื่องเงินเป็นเรื่องส่วนบุคคล 

“เงินของพ่อแม่ไม่ใช้เงินสำรองฉุกเฉินสำหรับลูก และเงินของลูกก็ไม่ใช่เงินยามเกษียณของพ่อแม่” ปลายทางสุดท้ายของเกมนี้ ไม่ควรต้องมีใครเป็นภาระหรือพึ่งพาใครเรื่องเงิน แม้จะเป็นครอบครัวเดียวกัน แต่ละคนควรดูแลและยืนอยู่ได้ด้วยการบริหารจัดการเงินของตัวเองที่ดีพอ ซึ่งการที่ผมพูดแบบนี้ไม่ได้แปลว่า ห้ามส่งเงินให้พ่อแม่ตัวเองนะ แต่ควรดูแลท่านแบบพอดี และไม่หนักจนเกินตัว

2. ความรู้การเงิน คือ เกราะป้องกันตัวชั้นดี

ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตทำให้โลกของเราหมุนเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนรูปแบบใหม่ เช่น คริปโทเคอร์เรนซี หรือกลยุทธ์การหลอกลวงเงินรูปแบบต่าง ๆ ดังนั้นวิธีการสอนแบบเดิมที่ส่งต่อกันมา ไม่สามารถใช้ได้ผลแล้ว เหมือนกับการรับโดมิโน่ตัวเก่าที่ไม่แข็งแรง มาวาง และพร้อมจะล้มลงได้ตลอดเวลา

ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้โดมิโน่ตั้งอยู่ได้นานและมั่นคง คือการส่งต่อ “ความรู้การเงิน” ที่ถูกต้อง

แต่เมื่อความรู้การเงินที่ถูกต้อง ไม่มีสอนในโรงเรียน Money Class จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นสถาบันสอนความรู้การเงิน ให้กับคนไทยทุกช่วงวัย ตั้งแต่ เด็ก จนวัยเกษียณ เพื่อยกระดับสุขภาพการเงินของคนทั้งประเทศให้ดียิ่งกว่าเดิม

เราจะทำหน้าที่ ช่วยเพื่อน ๆ ตั้งโดมิโน่ตัวแรกให้แข็งแรง ถูกต้อง และเปลี่ยนแปลงสังคมการเงินไทยให้ดีกว่าเดิมไปด้วยกัน

พิเศษ !!  เฉพาะเดือนนี้ ส่วนลดคอร์สออนไลน์วางแผนการเงิน “ซื้อครั้งเดียว เรียนได้ตลอดชีวิต” 
Money Wellness คอร์สออนไลน์ - Money Class
และพิเศษ!! ขอรับคำปรึกษาฟรี “โปรแกรมหลักสูตรพัฒนาทักษะการเงินสำหรับองค์กร และโรงเรียน” 
โปรแกรมหลักสูตรพัฒนาการเงินสำหรับองค์กร - Money Class
หลักสูตรสำหรับโรงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเงิน - Money Class